ปริทันต์วิทยา
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขา ปริทันต์วิทยา เป็นทันตแพทย์ที่ดูแลรักษา วินิจฉัย โรคที่เกี่ยวกับเหงือก กระดูกรองรับรากฟัน รวมทั้งการฝังรากฟันเทียมด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- โรคเหงือก เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยและอาจจะเกิดขึ้นแล้วโดยที่คุณไม่รู้ตัว การอักเสบของเหงือกเกิดขึ้นจากกรดของคราบหินปูนที่สะสมอยู่บนผิวฟันทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบ
- อาการระยะแรกจะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน ขอบเหงือกมีสีแดงขึ้นกว่าเดิม มีกลิ่นปาก ซึ่งหากปล่อยไว้โรคเหงือกจะรุนแรงจนการเป็นโรคปริทันต์ หรือ โรครำมะนาด ที่กระดูกรอบรับฟันถูกทำลายไปเกือบหมด ฟันโยกอย่างเห็นได้ชัด มีหนองไหลออกมาจากขอบเหงือก และอาจต้องสูญเสียฟันในที่สุด
- สาเหตุของโรคเหงือก สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเหงือกนั้นก็คือ คราบหินปูน ซึ่งหลั่งสารเข้ามาทำลายเนื้อเยื่อของกระดูกรองรับฟันจึงทำให้เกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ การรับประทานยาบางชนิด จำพวกยาลดความดันโลหิต ยากันชัด, การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียบางประเทภ, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การขาดสารอาหาร จำพวก แคลเซียม วิตามินซีและบี
- การฝังรากฟันเทียม เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยให้ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ ไม่ว่าจะ 1 ซี่ หรือหลายซี่ แม้กระทั้งทั้งปาก สามารถกลับมามีฟันได้อีกครั้ง
- การใช้รากเทียม ซึ่งมีลักษณะเหมือนรากฟันจริง แต่ผลิตมาจากไทเทเทียม ผ่าตัดฝังรากฟันเทียงลงในกระดูกขากรรไกร ซึ่งไทเทเนียมที่นำมาผลิตเป็นรากฟันเทียมเป็นวัสดุที่สามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมลงไปแล้วต้องรอประมาณ 2-4 เดือนเพื่อให้รากเทียมเชื่อมติดกับกระดูกก่อน จากนั้นทันตแพทย์จะใช้รากเทียมที่ฝังลงไปเป็นฐานที่ยึดครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมลงไป ซึ่งมีทั้งแบบติดแน่นและแบบถอดได้ การใส่รากเทียมลงไปจะช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารเป็นไปอย่างปกติและเสมือนฟันธรรมชาติมาก
- อายุของรากฟันเทียม โดยปกติแล้วรากฟันเทียมจะอยู่ได้ประมาณ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและการดูแลสุขภาพช่องปากของคนไข้ หากรักษาความสะอาดช่องปากเป็นอย่างดีก็จะช่วยยืดอายุรากฟันเทียมขึ้นไปอีก และควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดหมายด้วย
ปริทันต์วิทยา จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดูแลเหงือกและสิ่งทดแทนฟันที่เกี่ยวของกับเหงือก ดังนั้นใครไม่อยากพบทันตแพทย์เฉพาะทางปริทันต์วิทยาก็อย่าลืมดูแลเหงือกและฟันให้แข็งแรงกันด้วยค่ะ
Comments