ทันตกรรมสำหรับเด็ก
ทันแพทย์เฉพาะทาง สาขา ทันตกรรมสำหรับเด็ก จะรักษาครอบคลุมสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึง 15 ปี ซึ่งจะต้องดูแลทั้งการรักษา ป้องกัน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ซึ่งทันตกรรมสำหรับเด็กมีดังนี้
- การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการป้องกันฟันผุได้ดีที่สุดในเด็ก เพราะเด็กอาจจะยังไม่สามารถทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์และผู้ปกครองได้ ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันให้สะอาด การบ้วนปาก ดังนั้นการเคลือบฟลูออไรด์เป็นการปกป้องฟันผุที่ง่ายที่สุด
- การเคลือบหลุมร่องฟัน ในฟันกรามด้านบดเคี้ยวจะผุง่ายกว่าบริเวณอื่น เพราะมีหลุมร่องฟันที่เศษอาหารจะเข้าไปติดได้ง่าย แต่สามารถป้องกันฟันผุให้เด็กๆ ได้ด้วยการเคลือบหลุมร่องฟันเอาไว้ ทำให้หลุมร่องตื้นขึ้นและเศษอาหารเข้าไปอุดไม่ได้ ซึ่งการเคลือบหลุมร่องฟันควรทำทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้
- การอุดฟัน เมื่อเกิดปัญหาฟันผุในระยะแรกของฟันเด็กๆ ก็จะสามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน เพื่อไม่ให้การผุลุกลามเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
- การถอนฟัน หากปัญหาฟันผุถูกปล่อยไว้นานจนเกิดการลุกลาม การถอนฟันจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ทันตแพทย์จะเลือก เพราะหากถอนฟันออกไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นมาแท้ที่ จำเป็นต้องใส่เครื่องมือกันฟันล้ม
- การใส่เครื่องมือกันฟันล้ม ในเด็กที่อายุไม่เกิน 12 ปี หรือเด็กที่ฟันกรามน้อยแท้ยังไม่ขึ้น เมื่อเกิดจำเป็นต้องถอนฟันออกไปก่อนเวลาอันสมควร ทันตแพทย์จะทำการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อกันรักษาระยะห่องระหว่างฟันเอาไว้ไม่ให้ลดลงหรือหายไป เพื่อรอฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ หากปล่อยให้ฟันน้ำนมด้านข้ามล้มหรือขยับตัว ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาก็จะไม่ขึ้นตรงตามตำแหน่ง ซึ่งจำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนเกขึ้นมาได้
- การรักษารากฟัน เมื่อฟันผุลึกมากจนถึงโพรงประสาทฟัน เด็กๆ จะมีอาการปวดเป็นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษารากฟันก่อน ที่จะทำการอุดหรือครอบฟันต่อไป
- การจัดฟัน ในเด็กนั้นสามารถจัดฟันได้ตอนอายุ 12-15 ปี แต่ต้องขึ้นอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งการจัดฟันในเด็กนั้นจะมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น เพราะร่างการกำลังเจริญเติบโตและโครงสร้างใบหน้ากำลังเปลี่ยนแปลงด้วย
ฟันน้ำนมของเด็กๆ จะเริ่มขึ้นมาตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน และครบเมื่ออายุ 2-3 ขวบ เมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบแล้วผู้ปกครองต้องดูแลฟันน้ำนมของบุตรหลานให้ดีๆ ด้วยการแปรงฟันให้สะอาดและพาไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือนครั้ง แต่ผู้ปกครองมักไม่ค่อยสนใจฟันน้ำนมเพราะคิดว่าเดี๋ยวไม่นานก็หลุดไป แต่ความจริงแล้วการดูแลฟันน้ำนมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปล่อยให้ฟันน้ำนมผุและต้องถอนหรือหลุดก่อนเวลาอันสมควร ฟันแท้ที่จะขึ้นก็เกิดความไม่สมดุล จนทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนเกขึ้นในที่สุด